วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 12 เรื่องที่ 3 เป้าหมายหลักในด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ


การรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศและจรรยาบรรณเบื้องต้น
ความหมายของความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
- ความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ (Information system risk) หมายถึง เหตุการณ์หรือการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียหรือทำลายฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software)ข้อมูล สารสนเทศ หรือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของระบบ
>> ไวรัส เป็นตัวสร้างความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งแพร่กระจายในTrump Drive ง่ายมาก มักเกิดจากพวกGen Y ที่มีความสามารถด้านด้านคอมพิวเตอร์ มักเข้าไปยังแหล่งที่มีไวรัส เผลอเรอ และมักมีนิสัยชอบกด YES โดยไม่อ่านข้อมูล
ประเภทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
- แฮกเกอร์ (Hacker) คือบุคคลที่ใช้ทักษะหรือความสามารถที่สูงทางคอมพิวเตอร์เพื่อเจาะเข้าไปในระบบสารสนเทศของผู้อื่น แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย
- แครกเกอร์ (Cracker) คือบุคคลที่ทำอันตรายต่อการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศโดยมีวัตถุประสงค์ร้าย
- ผู้ก่อให้เกิดภัยมือใหม่ (Script Kiddies) เป็นบุคคลที่มีเป้าหมายเช่นเดียวกับแครกเกอร์คือทำลายระบบ แต่มักไม่มีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก ส่วนมากจะทำการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเจาะระบบจากเว็บ
- ผู้สอดแนม (Spies) เป็นบุคคลที่ถูกจ้างเพื่อเจาะระบบสารสนเทศและขโมยข้อมูล มักมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง โดยมีเป้าหมายของระบบที่ต้องการเจาะอย่างชัดเจน ไม่ไร้จุดหมายเหมือนผู้ก่อให้เกิดภัยมือใหม่
- เจ้าหน้าที่ขององค์กร (Employees) เป็นภัยคุกคามที่มีจำนวนมากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่จะเจาะเข้าไปในระบบสารสนเทศของกิจการของตนโดยมีเหตุผลเพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กรมีจุดอ่อน
- ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ (Cyberterrorist) ใช้ความเชื่อของตนเองในการปรับเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ หรือการทำให้ระบบสารสนเทศ ปฏิเสธการให้บริการกับผู้ใช้ที่มีสิทธิในการใช้ระบบอย่างถูกต้อง หรือเจาะเข้าไปในระบบเพื่อทำให้ข้อมูลเสียหายอย่างมาก ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์เป็นนักเจาระบบที่น่ากลัวมากที่สุดในจำนวนนักเจาะระบบ มีทักษะทางคอมพิวเตอร์ที่สูงมาก นอกจากนี้ยังเป็นการยากที่จะทำนายว่าจะโจมตีจะเกิดเวลาไหนและที่ใด โจมตีในรูปแบบใหม่อย่างอย่างฉับพลันและรวดเร็ว เช่น การปล่อยข่าว กล่าวหาบุคคลอื่น
ประเภทของความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
1. การโจมตีระบบเครือข่าย (Network attack)
- การโจมตีขั้นพื้นฐาน (Basic Attacks) เช่น กลลวงทางสังคม (Social engineering) เช่น Call Center หลอกลวง / การแชร์ Password กับเพื่อน และการรื้ออค้นเอกสารทางคอมพิวเตอร์จากที่ทิ้งขยะ (Dumpster Diving )
- การโจมตีด้านคุณลักษณะ (Identity Attacks) เช่น DNS Spoofing และ e-mail spoofing ส่งไวรัสจากเครื่องของเราให้คนอื่น โดยอาจจะแปลงเลข IP เป็นรหัสของเรา
- การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service หรือ DoS) เช่น Distributed denial-of-service (DDoS) , DoSHTTP (HTTP Flood Denial of Service) ส่งการRequest อัตโนมัติจากเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ ล้านครั้ง เพื่อให้เว็บไซต์ล่ม
- Webpage Spoof การทำเว็บไซต์ปลอม เช่น หน้าตาเว็บไซต์เป็นกูเกิล แต่URL เป็นยาฮู
- E-mail Spoofing ต้องระมัดระวังการเข้าลิงก์ที่ไม่รู้จัก แปลกปลอมจากในอีเมล์
- IP Spoofing การที่เราเข้าไปคลิกเว็บไซต์หนึ่งๆ ที่ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์สร้างไว้ แล้วระบบจะจดจำ IPของเราไว้ หลังจากนั้นก็นำ IP ของเราไปทำกิจกรรมต่างๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว อาจนำไปสร้างอันตรายให้ผู้อื่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตัวเรา เนื่องจาก IP เปรียบเหมือนบ้านเลขที่สำหรับคอมพิวเตอร์ของตัวเรา
- Distributed denial-of-service เช่น เกิดจากการมีไวรัสมาฝังในเครื่องเราโดยตั้งไว้ว่า ให้ ณ เวลหนึ่งๆ หากเรายังใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่จะส่ง Request ของเราไปยังเครื่องอื่นๆ เพื่อทำลายหรือรบกวนระบบ เป็นการถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทำลายผู้อื่น
- ข้อมูลที่ถูกจัดส่งไปยังเว็บ อาจไว้ใช้เช็กการเข้าเว็บไซต์ของพนักงานว่าเข้าเว็บไซต์ไหนบ้าง อย่างไรก็ตาม ถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว
- การโจมตีด้วยมัลแวร์ (Malware)
- โปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ (Computer’s operations) ประกอบด้วย ไวรัส (Viruses) เวิร์ม (Worms) โทรจันฮอร์ส(Trojan horse) และลอจิกบอมบ์ (Logic bombs)
- และโปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ(Information privacy) ที่มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สปายแวร์ (Spyware) ประกอบด้วย แอดแวร์ (Adware) พิชชิง (Phishing) คีลอกเกอะ (Keyloggers) การเปลี่ยนการปรับแต่งระบบ (Configuration Changers)การต่อหมายเลข (Dialers) และ แบ็คดอร์ (Backdoors)
- ไวรัส หมายถึงโปรแกรมที่ติดตัวเองไปกับเอกสารหรือโปรแกรม ประมวลผลเมื่อเอกสารหรือโปรแกรมนั้นถูกเปิด ก่อให้เกิดปัญหา
- เวิร์ม เป็นโปรแกรมมุ่งร้ายเช่นเดียวกับไวรัส แต่มีความแตกต่างกัน 2 ประการคือ ประการแรก ไวรัสเป็นโปรแกรมที่ติดตัวเองไปกับเอกสารทางคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เวิร์มสามารถที่จะไปยังที่ต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ประการที่สอง ไวรัสต้องอาศัยผู้ใช้งานสั่งให้ประมวลผลโปรแกรม แต่เวิร์ม สามารถประมวลผลได้ด้วยตนเอง
- โทรจันฮอร์ส คือโปรแกรมที่ทำลายระบบคอมพิวเตอร์โดยแฝงมากับโปรแกรมอื่นๆ เช่น เกม เป็นต้น
- ลอจิกบอมบ์ เป็นโปรแกรมที่แฝงตัวในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่จะยังไม่ทำงานจนกว่าเงื่อนไขที่กำหนดเกิดขึ้น
- แอดแวร์ คือโปรแกรมที่จะแสดงข้อความโฆษณาที่เว็บเพจโดยที่ผู้ใช้งานมิได้ต้องการ
- พิชชิง คือการส่งอีเมลไปให้ผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้เข้าไปในเว็บไซด์ที่แสดงในอีเมลก็จะแสดงเว็บเพจ ปลอมซึ่งมีการจัดทำหน้าเว็บเพจให้เหมือนของจริง ถ้าผู้ใช้ป้อนรหัสผ่านหรือเลขที่บัตรเครดิตเข้าไปในเว็บเพจดังกล่าว ข้อมูลก็จะถูกขโมยและนำไปใช้ต่อไป นอกจากนี้ยังมีวิธีการ พาร์มมิง (Pharming) ที่มีเป้าหมายเพื่อต้องการข้อมูลส่วนตัวเช่นเดียวกับฟิชชิง แตกต่างกันที่แทนที่จะขอให้ผู้ใช้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ปลอมจะเชื่อมโยงผู้ใช้ไปยังเว็บไซด์ปลอมอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ป้อนที่อยู่เว็บในเว็บเบราว์เซอร์ด้วยวิธีการของ DNS Spoofing
- คีลอกเกอะ อาจเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมขนาดเล็กที่บันทึกการกดแป้นพิมพ์เพื่อป้อนตัวอักขระและจัดเก็บในแฟ้มข้อมูล เช่น ตู้ ATM ที่ถูก hack
- แบ็คดอร์ ทำให้การเข้าถึงระบบไม่ต้องผ่านขั้นตอนการป้อนรหัสประจำตัวและรหัสผ่าน


2. การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized access) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่มีสิทธิ เช่น การเข้าระบบโอนเงินธนาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. การขโมย (Theft) เช่น การขโมยฮาร์ดแวร์/การขโมยซอฟต์แวร์ /การขโมยสารสนเทศ
4. ความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ (System failure) เช่น เสียง (Noise) อาจเป็นการรบกวนจากฝนตก ความชื้น หรือไฟตก เป็นต้น
การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
การรักษาความปลอดภัยการโจมตีระบบเครือข่าย
- ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและปรับปรุง Virus signature หรือ Virus definition ต้องมีการ Update ตลอดเวลาด้วย
- ติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่คอยกั้นไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในองค์กร แต่อาจไม่ค่อยแข็งแรงนัก ต้องมีติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเพิ่มเติม
- ติดตั้งซอฟต์แวร์ตรวจจับการบุกรุก (Intrusion detection software) กิจการขนาดใหญ่ส่วนมากจะติดตั้งระบบนี้ เพื่อดูว่าคนที่เข้ามาใช้ทรัพยากรในองค์กร เป็นใครมาจากไหน IP อะไร มีการบุกรุกหรือไม่
- ติดตั้ง Honeypot คือ การตั้งระบบเหมือนจริงขึ้นมาป้องกันไว้รอบๆระบบจริงที่ใช้งานอยู่ เป็นการป้องกันอันตรายจากการถูกเจาะระบบ
การควบคุมการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การระบุตัวตน (Identification) จะมีหมายเลขประจำตัวแต่ละคน เวลาจะเข้าใช้ระบบอะไรบางอย่าง ก่อนต้องกรอกรหัสก่อน
- การพิสูจน์ตัวจริง (Authentication) เช่น รหัสผ่าน (Password)
1. ข้อมูลที่ทราบเฉพาะบุคคลที่เป็นเจ้าของ (What you know)
2. ใช้บัตรผ่านที่มีลักษณะเป็นบัตรประจำตัว (What you have) เช่น บัตรATM เป็นต้น
3. ลักษณะทางกายภาพของบุคคล (What you are) เช่น ม่านตา เป็นต้น
*** การตั้งพาสเวิด ควรตั้งเป็นภาษาคาราโอเกะ เพราะ ไม่ใช่ภาษาใดภาษาหนึ่ง และควรมีทั้งตัวเลขและตัวอักษร
การควบคุมการขโมย
- ควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพ (Physical access control) เช่น การปิดห้องและหน้าต่าง เป็นต้น
- กิจการบางแห่งนำระบบ Real time location system (RTLS) มาใช้เพื่อระบุสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงโดยนำ RFID tags ติดที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการติดตามอุปกรณ์นั้นๆ
- ปัจจุบันมีการออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถควบคุมการเปิดเครื่องและการเข้าใช้งานเครื่องด้วยการใช้ลักษณะทางกายภาพของบุคคล เช่น ลายนิ้วมือ เป็นต้น
- การรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ทำโดยเก็บรักษาแผ่นซอฟต์แวร์ในสถานที่มีการรักษาความปลอดภัย
- ในกรณีที่มีโปรแกรมเมอร์ลาออกหรือถูกให้ออก ต้องควบคุมและติดตามโปรแกรมเมอร์ทันที (Escort)
การเข้ารหัส คือกระบวนการในการแปลงหรือเข้ารหัสข้อมูลที่อยู่ในรูปที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้(Plaintext) ให้อยู่ในรูปที่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นสามารถอ่านข้อมูลได้ (Ciphertext)
ประเภทของการเข้ารหัส
- การเข้ารหัสแบบสมมาตร ผู้ส่งและผู้รับจะใช้คีย์ลับในการเปิด ซึ่งการเข้ารหัสแบบนี้จะใช้กันในวงแคบ
- การเข้ารหัสแบบไม่สมมาตร ผู้ส่งใช้คีย์สาธารณะส่วนผู้รับใช้คีย์ส่วนตัวในการเปิด เช่น ระหว่างการติดต่อของเว็บไซต์อเมซอนกับลูกค้า
การรักษาความปลอดภัยอื่นๆ
- Secure sockets layer (SSL) โดยเว็บเพจที่ใช้ SSL จะขึ้นต้นด้วย httpsแทนที่จะเป็น http จะมีความปลอดภัยมากขึ้น
- Secure HTTP (S-HTTP) เช่น ระบบธนาคารออนไลน์จะใช้ S-HTTP
- Virtual private network (VPN)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ
- การป้องกันแรงดันไฟฟ้าใช้ Surge protector หรือ Surge suppressor
- ไฟฟ้าดับใช้ Uninterruptible power supply (UPS)
- กรณีระบบสารสนเทศถูกทำลายจนไม่สามารถให้บริการได้ การควบคุมทำโดยการจัดทำแผนการทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมจากภัยพิบัติ (Disaster Recovery – DR) หรือ Business continuity planning (BCP)
การสำรองข้อมูล (Data Backup) สิ่งที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการสำรองข้อมูลประกอบด้วย
1. เลือกสื่อบันทึก (Media) ที่จะทำการสำรองข้อมูล เช่น CD DVD หรือ Portable Harddisk เป็นต้น
2. ระยะเวลาที่ต้องสำรองข้อมูล
3. ความถี่ในการสำรองข้อมูล ขึ้นอยู่กับระยะเวลาสูงสุดที่ระบบจะไม่สามารถให้บริการได้โดยไม่ส่งผลต่อการดำเนินงานปกติขององค์กร
4. สถานที่จัดเก็บสื่อบันทึกที่สำรองข้อมูล ซึ่งสามารถจัดเก็บ On Site หรือ Offsite ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป
การรักษาความปลอดภัยของแลนไร้สาย (Wireless LAN)
- ควบคุมการเชื่อมโยงเข้าสู่แลนไร้สายด้วย Service Set Identifier (SSID)
- กลั่นกรองผู้ใช้งานด้วยการกรองหมายเลขการ์ดเน็ตเวิร์ก (MAC Addressing Filtering)
- การเข้ารหัสและถอดรหัสด้วยวิธีการ Wired Equivalency Privacy (WEP)
- จำกัดขอบเขตพื้นที่ให้บริการด้วยการควบคุมกำลังส่งของแอ็กเซสพอยน์
- การพิสูจน์สิทธิเข้าใช้งานแลนไร้สายด้วย Radius Server
- การสร้าง Virtual Private Network (VPN) บนแลนไร้สาย
จรรยาบรรณ
จรรยาบรรณทางคอมพิวเตอร์ คือหลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย
- การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การขโมยซอฟต์แวร์ (การละเมิดลิขสิทธิ์)
- ความถูกต้องของสารสนเทศ เช่น การตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น
- สิทธิ์ต่อทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights)
- หลักปฏิบัติ (Code of conduct)
- ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ (Information privacy)
หลักปฏิบัติ คือสิ่งที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าการกระทำใดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่มีหรือไม่มีจรรยาบรรณ หลักปฏิบัติมีดังนี้
- ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำอันตรายบุคคลอื่น
- ต้องไม่รบกวนการทำงานทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น
- ต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลของคนอื่น
- ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมย
- ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้หลักฐานที่เป็นเท็จ
- ต้องไม่สำเนาหรือใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
- ต้องไม่ใช้ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ต้องไม่ใช้ทรัพสินทางปัญญาของผู้อื่นเหมือนเป็นของตน
- ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมของโปรแกรมที่ออกแบบ
- ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพในมนุษย์แต่ละคน
ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ มีหลักปฏิบัติดังนี้
- ให้เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้นในการกรอกข้อมูลใบลงทะเบียน ใบรับประกัน และอื่นๆ
- ไม่พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน บนเช็ค ล่วงหน้า (Preprint)
- แจ้งองค์การโทรศัพท์ไม่ให้พิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของท่านลงใบสมุดโทรศัพท์
- ถ้าหมายเลขโทรศัพท์ของท่านอยู่ในพื้นที่ๆ สามารถแสดงหมายเลขโทรศัพท์ที่เครื่องของผู้รับได้ ให้ท่านระงับการแสดงหมายเลขโทรศัพท์ที่เครื่องของผู้รับด้วย
- ไม่ควรเขียนหมายเลขโทรศัพท์ของท่านบนในบิลของบัตรเครดิต
- ซื้อสินค้าด้วยเงินสด แทนที่จะเป็นบัตรเครดิต
- ถ้าร้านค้าสอบถามข้อมูลส่วนตัวของท่าน ให้หาเหตุผลว่าทำไมจึงถามคำถามนั้นก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ให้ข้อมูล
- กรอกข้อมูลส่วนตัวของท่านบนเว็บเฉพาะส่วนที่ต้องกรอกเท่านั้น
- ติดตั้งตัวจัดการ Cookie เพื่อกลั่นกรอง Cookie
- ลบ History file ภายหลังจากเลิกใช้โปรแกรมเบาวร์เซอร์
- ยกเลิกการเปิดบริการแบ่งปันข้อมูล (File sharing) หรือเครื่องพิมพ์ก่อนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
- ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ มีหลักปฏิบัติดังนี้ (ต่อ)
- ติดตั้งไฟร์วอลล์ส่วนบุคคล
- ติดตั้งโปรแกรม Anti-spam
- ไม่ตอบ e-mail ที่เป็น spam ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
กฏหมายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ เช่น Privacy Act และ Family Educational Rights and Privacy Act เป็นต้น โดยกฏหมายนี้ส่วนใหญ่จะกล่าวถึง
- จำนวนของสารสนเทศที่จัดเก็บจะต้องจัดเก็บเท่าที่จำเป็นเพื่อการดำเนินงานของธุรกิจหรือรัฐบาลเท่านั้น
- จำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่รวบรวมนั้น โดยให้พนักงานที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพื่อการปฏิบัติงานสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้เท่านั้น
- แจ้งให้ผู้ที่ถูกจัดเก็บข้อมูลทราบว่ากำลังจัดเก็บข้อมูลอยู่ เพื่อให้บุคคลนั้นมีโอกาสในการพิจารณาความถูกต้องของข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น